วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ขอเชิญชวนคณะศรัทธาสาธุชนทุกท่าน ร่วมสร้างบุญกุศลในกาลทอดกฐินในปีนี้
จักได้ทอดถวาย ณ วัดม่วงน้อย ต.ม่วงน้อย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
ในวันที่ ๑๗ พฤษจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๗.๓๐ น.เริ่มทำพิธี
ขอเชิญชวนคณะศรัทธาสาธุชนมา ณ ที่นี้

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๕ วันออกพรรษา
หลังเทศกาลเข้าพรรษา ผ่านพ้นไปได้ 3 เดือน ก็จะเป็น วันออกพรรษา ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดย วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "วันมหาปวารนา" คำว่า "ปวารนา" นั้นแปลว่า อนุญาตหรือยอมให้ โดยในปีนี้ วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ 30 ตุลาคม 2555
          ทั้ง นี้ วันออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณา ใน วันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากในระหว่างที่เข้าพรรษาอยู่ด้วยกัน พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และการให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนก็จะทำให้รู้ข้อบกพร่องของตน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันได้ด้วย พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผู้ใหญ่จะมีอาวุโสมากกว่า แต่ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง เพื่อเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรืออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา

          สำหรับ คำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลีเป็นดังนี้ "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ" มีความหมายว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี

          เมื่อ ทำพิธี วันออกพรรษา แล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ หรือค้างคืนที่อื่นได้โดยไม่ผิดพระพุทธบัญญัติ และยังได้รับอานิสงค์ก็คือ 


           ไปไหนไม่ต้องบอกลา
           ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
           มีสิทธิ์รับลาภที่เกิดขึ้นได้
           มีโอกาสได้อนุโมทนากฐิน ที่จะสามารถขยายเวลาของอานิสงค์ออกไปอีก 4 เดือน

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาพงานทำบุญ ตานก๋วยสลากวัดม่วงน้อย 23/09/2555

                          
                           อนุโมทนาบุญกับคระศรัทธาทั้งหลายที่มาร่วมงานบุญในครั้งนี้
                       
                             ก๋วย(ตะกร้า)สลากเรียงรายเป็นแถว รอพระคุณเจ้ามารับถวายทาน


                                                    ส่วนนี้ถวายพระพุทธ






                              อาหารเหลา ตามแต่จะหาได้ (บุญก็ได้ใส้ก็เต็ม)

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ เหนือวันปล่อยผี Halloween Day

วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็ง (ทางเหนือ) วันปล่อยผี


ประเพณีอุทิศหาผู้ตาย บางทีเรียกว่า ประเพณีเดือน 12 เป็ง ประชาชนวังฟ่อนนิยมทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษของตน คือ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า    ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีรวมไปถึงอุทิศหาผีตาย ปล่อยผีปล่อยเปรต ให้มารับส่วนบุญซึ่งประเพณีนี้มีมาก่อนผมเกิดหลายปีครับจึงได้ยินแต่คำ บอกกล่าวเล่าขานสืบทอดกันมา เรามาดูทางศาสนาดูบ้างนะครับว่าเกี่ยวข้องยังไงกับ วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็ง (ทางเหนือ)  บ้าง ตำนานทางพุทธศาสนากล่าวถึง เปรตญาติของพระราชาพิมพิสารไว้ดังนี้

ในกัลปที่ 92 นับแต่ภัทรกัลปนี้ขึ้นไปถึงศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า “ปุสสะ” พระพุทธบิดาทรงพระนามว่า “พระเจ้าชยเสนะ” พระพุทธมารดามีพระนามว่า “ศิริมา” พระเจ้าชยเสนะยังมีพระราชบุตรอีก 3 องค์ ต่างพระมารดา และเป็นพระกนิษฐาภาดาของพระปุสสะพระพุทธเจ้า
ราชบุตรทั้ง 3 นี้ มีเจ้าพนักงานรักษาคลังหนึ่งเก็บส่วยในชนบท กาลต่อมาพระราชบุตรทั้งสามมีพระประสงค์จะบำเพ็ญกุศลบำรุงพระศาสนา ผู้เป็นพระเชษฐภาดา ตลอดไตรมาส (3 เดือน) จึงทูลขออนุญาตต่อพระราชบิดา เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว พระราชบุตรทั้งสามจังตรัสสั่งเจ้าพนักงานผู้เก็บส่วยในชนบทของพระองค์ให้ สร้างวิหาร ครั้นสร้างเสร็จแล้ว พระราชบุตรทั้งสามจึงนำเสด็จพระพุทธเจ้าไปที่วิหาร และทูลถวายวิหารแก่พระศาสดา แล้วสั่งเจ้าพนักงานรักษาพระคลังและพนักงานเก็บส่วยว่า เจ้าจงดุแลจัดของเคี้ยวของฉันถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุ 90,000 องค์ที่เป็นพุทธบริวารและตัวเราทั้งสามกับบริวารด้วยทุก ๆ วัน ตลอดจนไตรมาสด้วย ตั้งแต่วันนี้ไปเราจักไม่พูดอะไร ตรัสแล้วก็พาบริวาร 1,000 องค์สมาทานศีล 10 แล้วประทับอยู่ในวิหารตลอดไตรมาส
เจ้าพนักงานรักษาพระคลัง และเจ้าพนักงานเก็บส่วน ผลัดกันดูแลทานวัตต์ตามความประสงค์ของพระราชบุตรทั้งสามด้วยความเคารพ ครั้งนั้นชาวชนบทบางพวกมีจำนวน 84,000 คนได้ทำอันตรายต่อทานวัตต์ของพระราชบุตรทั้งสาม มีกินไทยธรรมเสียเองบ้าง ให้แก่บุตรเสียบ้าง เผาโรงครัวเสีย ชนเหล่านั้นครั้นทำลายขันธ์แล้วจึงไปบังเกิดในนรก
กาลล่วงไปถึง 92 กัลปจนถึงกัลปนี้ ในพระพุทธศาสนา พระกัสสปะ สัมมาสัมพุทธเจ้า ชนเหล่านี้มีจิตอันอันอกุศลเบียบเบียนแล้วนั้น ได้มาบังเกิดในหมู่เปรต ครั้งนั้นมนุษย์ทำบุญให้ทานอุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรตที่เป็นญาติของตน เปรตเหล่านั้นก็ได้ซึ่งทิพย์สมบัตินานาประการ แต่หมู่เปรตผู้ทำลายเครื่องไทยธรรมพระราชบุตรทั้งสามนั้น หาได้รับส่วนกุศลไม่ เปรตเหล่านั้นจึงทูลถามพระกัสสปะพุทธเจ้าว่า ข้าพระพุทธเจ้านี้จะพึงได้สมบัติอย่างนี้บ้างหรือไม่ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายยังไม่ได้สมบัติในบัดนี้ ต่อไปภายหน้าในพุทธกาลแห่งพระโคดมพระพุทธเจ้า ญาติของท่านทั้งหลายจักได้เป็นพระราชา ทรงพระนามว่า “พิมพิสาร” และจักได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แล้วอุทิศผลบุญถึงท่านทั้งหลาย เมื่อนั้นแหละท่านจะได้สมบัติอย่างนี้
การล่วงมาได้พุทธันตรหนึ่งถึงพระพุทธศาสนา พระสัมมาพุทธเจ้าของเรานี้     เจ้าพนักงานผู้เก็บส่วนพระราชบุตรทั้งสามได้มาบังเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าพิมพิสารเมื่อได้ฟังเทศนาของพระพุทธเจ้าก็ได้ตั้งอยู่ใน โสดาปัตติผล และได้ถวายไทยธรรมแด่พระพุทธเจ้า แต่หาได้อุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรตที่เป็นญาติไม่เปรตที่เป็นญาติเหล่านั้นมา คอยรับส่วนกุศลอยู่ เมื่อมิได้รับส่วนกุศลตามความปรารถนาก็เสียใจ พอถึงเวลาราตรีหนึ่งก็ส่งเสียงร้องเรียกแปลกประหลาดน่าสะพึงกลัว ครั้งรุ่งสางขึ้น พระเจ้าพิมพิสารก็เสด็จเข้าเฝ้าพระศาสดาทูลถามเหตุนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสเนื้อความทั้งปวงแต่หนหลังให้พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เข้าไปรับเครื่องไทยธรรมในพระราช นิเวศน์ แล้วพระราชาทรงกระทำทักษ์โณทก      ทรงอุทิศว่าอุทกนี้จงถึงหมู่ญาติของเรา
ขณะนั้นฝูงเปรตที่มีความกระวนกระวาย และร่างกายที่น่าเกลียดน่ากลัวก็สูญหายไป กลับมีผิวพรรณงามผ่องใสดังทอง แล้วพระราชาถวายยาคูและของเคี้ยวอุทิศถึงญาติอีก ยาคูและของเคี้ยวอันเป็นทิพย์ก็เกิดขึ้นในสำเร็จประโยชน์แก่ฝูงเปรตที่เป็น ญาติเหล่านั้น แล้วพระราชาถวายผ้าและเสนาสนะทรงอุทิศถึงญาติอีก ผ้าและเครื่องเสนาอาสนะปราสาทแต่ล้วนเป็นทิพย์ ให้สำเร็จประโยชน์แก่ฝูงเปรตเหล่านั้น แล้วสมเด็จพระทศพลก็ทรงอธิษฐานให้พระเจ้าพิมพิสารได้ทัศนาการฝูงเปรตที่เป็น ญาติเหล่านั้นได้ประสบความสุข พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงพระโสมนัสยิ่งนัก
ในครั้งนั้นมีเรื่องสืบมาว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาติโรกุฑสูตร ทรงสรรเสริญทานที่ทายกอุทิศบริจาคแก่ญาติที่ตายไปแล้วอีกหลายวัน แล้วกล่าวคำอุทิศถึงญาติว่า “อิทํ โว ญาตีนํ โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตโย ฯ” ทานนี้จงถึงญาติทั้งหลาย (ที่เกิดในเปรตวิสัย) ขอญาติเหล่านั้นจงมีความสุข (คือได้เสวยผลแห่งทานได้ความสำราญ)
อนึ่งผู้บริจาคทานนั้นก็หาได้ไร้ผลไม่ เป็นการสร้างสมบุญกุศลให้เพิ่มยิงขึ้น กลับมีอานิสงฆ์ยิ่งใหญ่ให้ผู้อื่นได้อนุโมทนาอีก การร้องไห้เศร้าโศกปริเวทนา หาผู้ที่ตายไปไม่เป็นประโยชน์อย่างไรแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว มีแต่การทำบุญอุทิศกุศลเท่านั้นจะได้ผลแก่เขาในปรภพแล
ในวันเดือน 12 เหนือขึ้น 14 ค่ำ จะเป็นวันแต่งดาเตรียมข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ไว้พร้อมสรรพ รุ่งขึ้นเป็นวันเดือน 12 เพ็ญ ชาวบ้านจะนำเอาอาหารใส่ถาดไปวัดและจะถวายแด่พระภิกษุเรียกว่า “ทานขันข้าว” มีการหยาดน้ำอุทิศบุญกุศลด้วยโดยให้พระเป็นผู้กรวดให้เพราะถือว่าท่านเป็น ผุ้ทรงศีลบุญกุศลจะถึงแก่ผู้ตายได้ง่าย
การทำบุญอุทิศกุศลนั้น มีการทำ 2 แบบ คือ อุทิศแก่ผู้ตายธรรมดา 1. อุทิศแก่ผู้ตายโดยอุบัติเหตุพวกผีตายโหง 2. อุทิศแก่ผู้ตายธรรมดาญาติจะนำอาหารไปถวายที่วัด ถือว่าวิญญาณผู้ตายธรรมดาจะเข้าออกวัดได้โดยสะดวก ส่วนผีตายโหงนั้น เข้าวัดไม่ได้เพราะอำนาจแห่งเวรกรรม ญาติต้องถวายอาหารพระนอกวัด คือ นิมนต์พระมานอกกำแพงวัดแล้วถวาย เช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดินของอีสาน
การทำบุญอุทิศถึงผู้ตายนี้ ถ้ามีญาติหลายคนที่ตายไปแล้วจะต้องอุทิศให้คนละขัน หรือคนละถาดกล่าวคือจะต้องถวายหลายครั้งตามจำนวนคน แต่บางรายก็จดรายชื่อให้พระ เวลาพระให้พรจะได้ออกชื่อผู้ตายตัวอย่างคำให้พรอุทิศแก่ผู้ตายดังนี้ “ดีและอัชชะในวันนี้ก็หากเป็นวันดี สะหรีอันประเสริฐล้ำเลิศกว่าวันดังหลาย บัดนี้หมายมีมูลศรัทธา…(ชื่อผู้ถวาย)….ได้สระหนงขงขวายตกแต่งแปงพร้อมน้อมนำ มา ยังมธุบุปผาลาชาดวงดอกข้าวตอกดอกไม้ลำเทียน ข้าวน้ำโภชนะอาหารมาถวายเป็นทานเพื่อจักอุทิศะผละหน้าบุญ ผู้อันจุติตาย มีนามกรว่า ..(ผู้ตาย)…หากว่าได้วางอารมณ์อาลัย มรณะจิตใจไปบ่ช่าง ไปตกท้องหว่างจตุราบาย ร้อนบ่ได้อาบอยากบ่ได้กิ๋น ดังอั้นก็ดี ขอผละหน้าบุญอันนี้ไปอุ้มปกยกออก จากที่ร้ายคล้ายมาสู่ที่ดี หื้อได้เกิดเป็นเทวบุตร เทวดา อินทาพรหมตนประเสริฐดั่งอั้นก็ดี ขอผละหน้าบุญอันนี้ไปเตื่อมแถม ยังสะหรีสัมปติยิ่งกว่าเก่า สุขร้อยเท่าพันปูน ผละหน้าบุญนี้ชักนำรอดเถิงเวียงแก้วยอดเนรพานนั้นจุ่งจักมีเที่ยงแท้ดีหลี…