วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเพณีตานก๋วยสลาก หมายถึง ประเพณีถวายทานสลากภัต เป็นวิธีการถวายเครื่องไทยทานแก่พระพระสงฆ์วิธีหนึ่งอันเป็นที่นิยมของชาวเหนือ โดยทั่วไปจะเริ่มใน วันเพ็ญ เดือน 12 เหนือ (กันยายน) ถึงแรม 1 ค่ำ เดือนเกี๋ยงดับ (พฤศจิกายน) เมื่อทางวัดและชาวบ้านตกลงกันว่าจะจัดให้มีการกินสลาก 
ก่อนวันตานก๋วยสลาก ชาวบ้านจะจัดทำพิธีเตรียมสิ่งของเครื่องไทยทาน 1 วัน เรียกวันที่เตรียมของนี้ว่า “วันดา” ชาวบ้านจะจัดเครื่องไทยทานลงใน “ก๋วย” เป็นตระกร้าหรือชะลอมขนาดเล็กที่สานด้วยไม้ไผ่) เรียกว่า “ก๋วยสลาก” 
ประวัติความเป็นมาของประเพณีตานก๋วยสลาก     มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์ธรรมบทว่า มีนางยักษิณีตนหนึ่งรู้ฤกษ์ยามเป็นอันดี ปีไหนฝนดีนางก็บอกให้ชาวเมืองทำนาในที่ดอน ปีไหลฝนไม่ดี นางก็บอกให้ชาวเมืองทำนาทำไร่ในที่ลุ่ม ชาวเมืองได้อาศัยนางยักษิณีทำมาหากินจำเริญวัฒนาไม่มีความเสียหาย เมื่อชาวเมืองรำลึกถึงอุปการะของนางถึงต่างพากันนำเครื่องสักการะไปให้นางเป็นอันมาก นางจึงนำเอาเครื่องสักการะเหล่านั้นถวายเป็นสลากภัตแด่พระภิกษุสงฆ์ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาจนบัดนี้ 

000

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น